.

Monday, March 14, 2016

สิ่งควรรู้ว่าด้วย ทะเลจีนใต้ ------- /

  • Dhanatchai Chatchai

    ทะเลจีนใต้ ------- ///////// ก)เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก มีขนาดใกล้เคียงกับทะเลเมดิเตอเรเนียน ข)ความยาวตั้งแต่เกาะไต้หวันถึงเกาะสุมาตรา ๑๘๐๐ ไมล์ทะเล ความลึกของน้ำทะเลสูงสุด ๕๕๑๔ เมตร ค)ประเทศตามชายฝั่งทะเลจีนใต้ ประกอบด้วย จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนิเซีย สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม โดยจีนมีแนวคิดว่า ทะเลจีนใต้เป็นอาณาจักรทางทะเลของตน ซึ่งทำให้จีนต้องการที่จะขยายอาณาจักรไปทั่วทะเลจีนใต้ ง)ทะเลจีนใต้จะมี เกาะ แก่ง แนวปะการัง หินโสโครก สันทรายใต้น้ำและโขดหินกระจายอยู่หลายเกาะ ตามบริเวณพื้นที่ในทะเล แบ่งออกเป็น หมู่เกาะพาราเซล หมู่เกาะสแปรตลี หมู่เกาะปราตัส และหมู่เกาะแมคเคิลฟิลด์แบงค์ จ)ปัญหาการอ้างสิทธิเป็นเจ้าของหมู่เกาะสแปรตลี มีการอ้างซ้ำซ้อนกันอยู่ นั้น ประกอบด้วยประเทศ จีน ไต้หวัน เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ง)ในเดือนกุมภาพันธุ์ ๒๕๓๖ จีนได้ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่ง ระบุให้หมู่เกาะสแปรตลีเป็นเขตอธิปไตยของตน มีสิทธิที่จะขับไล่ผู้บุกรุกได้ทันที จ)จีนยังได้ลงนามในข้อตกลงตามช่วงเวลาดังกล่าวกับบริษัทน้ำมันแห่งหนึ่งของสหรัฐ เพื่อสำรวจขุดเจาะน้ำมันในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลี ฉ)นับตั้งแต่นั้นมา จีนใช้อำนาจกำลังรบทางเรือเข้ารุกคืบคลานคืบหน้าไปทีละเกาะ เริ่มจากสร้างอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะ mischief reef เดิมที่มีอยู่แล้ว ขยายไปเรื่อยๆจนเข้ายึดหมู่เกาะสแปรตลี ทั้งหมดในที่สุดจน ณ ขณะนี้ จนจีนสามารถควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคญที่สุด และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจมากที่สุดเอาไว้ด้วย

  • ๑)ทะเลจีนใต้ เป็นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญสายหนึ่งของโลก โดยเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก คือเชื่อมภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ ๒)เส้นทางคมนาคมในทะเลจีนใต้ที่สำคัญคือ เส้น NE/SW ที่ผ่านด้านตะวันตกของหมู่เกาะสแปรตลี ที่มีระหว่างห่างประมาณ ๑๕๐ ไมล์ อีกเส้นหนึ่งที่ผ่านด้านตะวันออกของหมู่เกาะสแปรตลี การขนส่งสินค้าทางทะเลทั่วทั้งโลกนี้ ประมาณ ๙๕ % เป็นการขนส่งทางทะเลในทะเลจีนใต้ถึงราวๆ ๕๑ % ทั่วทั้งโลก ๓)การเดินทางทางทะเลหรือการขนส่งทางทะเลที่ผ่านเข้าออกด้านทะเลจีนใต้ในทางด้านเหนือนั้น คือเส้นทางทางทะเลที่ผ่านระหว่างไต้หวันกับฟิลิปปินส์ โดยมีเส้นทางการเดินทางหรือการขนส่งสินค้าทางทะเลด้านใต้นั้น จะมีเส้นทางทางทะเลที่ผ่านช่องแคบที่สำคัญ ๓ ช่องทาง คือ --๓/๑)ช่องแคบมะละกา ///// เป็นช่องทางหลักระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ ยาวประมาณ ๖๐๐ ไมล์ทะเล กว้าง(ทางด้านตะวันตก)ประมาณ ๓๐๐ ไมล์ทะเล แล้วค่อยๆแคบลงมากขึ้นเมื่อผ่านเข้าไปยัง PHILLIP CHANNEL และช่องแคบสิงคโปร์ จนเหลือความกว้างน้อยที่สุดเพียง ๓ ไมล์ทะเล แต่มีช่องทางเดินเรือเพียง ๑.๕ ไมล์ทะเล ซึ่งช่องแคบมะละกานี้มีความยาว ๗๕ ไมล์ทะเล และความลึกของน้ำทะเลนี้โดยเฉลี่ยค่อนข้างตื้น บางแห่งลึกเพียง ๗๒ ฟุต ซึ่งองค์การสหประชาชาติถึงกับกำหนดไม่ให้เรือที่กินน้ำลึกเกิน ๖๕ ฟุต(หรือประมาณ ๒๐ เมตร) ผ่านช่องแคบมะละกา เส้นทางทางทะเลนี้จะไปผ่านเส้นทางทะเลด้านฝั่งตะวันตกของเกาะบอร์เนียวแล้วขึ้นเหนือไปหมู่เกาะสแปรตลี ***(หมายเหตุตรงนี้ การขุดคลองกระ ต้องขุดบนบกอย่างน้อย ๕ ไมล์ทะเล เพราะจะเหลือช่องทางลงครึ่งหนึ่ง โดยจะต้องให้เรือสวนทางกันได้อย่างปลอดภัย และสองผั่งคลองก็เป็นที่พักเรือจอดเรือ ปัญหาคือเรื่องความลึก หากต้องการความลึกเท่าหรือใกล้เคียงกับร่องน้ำช่องแคบสิงคโปร์ ต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบกันอย่างละเอียดว่าประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์มากน้อยเพียงไร หรือต้องการให้มีความลึกในระดับที่เรือขนาดใหญ่ที่กินน้ำลึกมากมาผ่าน สมมติว่าประมาณ ๑๐๐ เมตรหรือ ๓๐๐ ฟุตขึ้นไป จะต้องมีการขุดลอกลงไปที่พื้นดินในอ่าวไทยไปอีก(อ่าวไทยมีความลึกอยู่ที่ประมาณ ๑๐-๕๐ เมตร หรือ ๓๐-๑๕๐ฟุต ปัญหาอีกอย่างคือ หากเรือจอดแวะที่ท่าเรืองคลองกระไทย ยังคงได้รับประโยชน์ แต่ถ้าแล่นผ่านไปเฉยๆ ประเทศไทยจะได้เพียงค่าผ่านทางเล็กน้อย ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก และปัญหาที่น่าคิดคือคลองกระจะเป็นสถานที่มาของแขกที่ไม่ได้รับเชิญคือกองกำลังทางเรือนานาชาติจะมีท่าทีและแสดงออกอย่างไร)*** --๓/๒)ช่องแคบซุนดา ////// ยาวประมาณ ๕๐ ไมล์ทะเล มีกระแสน้ำแรง และมีความลึกของน้ำไม่มากนัก สามารถร่นระยะทางได้เพียง ๑๕๐ ไมล์ทะเล(เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางที่ผ่านช่องแคบลอมบ็อค) ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของช่องแคบซุนดา(ระหว่างเกาะสุมตรากับเกาะชวา) มีความกว้าง ๑๕ ไมล์ทะเล มีเกาะแก่งจำนวนมาก และค่อนข้างอันตราย เรือสินค้าขนส่งทางทะเลจะใช้ช่องแคบซุนดาน้อยมาก โดยเฉพาะเรือขนาดใหญ่ที่มีขนาด ๑๐๐๐๐๐ ตันขึ้นไป จะไม่ใช้เส้นทางช่องแคบนี้ การเดินเรือเส้นทางนี้ผ่านช่องแคบซุนดาไปผ่านเส้นทางทะเลด้านฝั่งตะวันตกของเกาะบอร์เนียวแล้วขึ้นไปทางเหนือไปยังหมู่เกาะสแปรตลี --๓/๓)ช่องแคบลอมบ็อค ///// อยู่ระหว่างเกาะบาหลี(ด้านตะวันตก)กับเกาะลอมบ็อค(ด้านตะวันออก) เป็นช่องแคบที่มีขนาดความกว้างต่ำสุดประมาณ ๑๑.๕ ไมล์ทะเล และมีความลึกกว่า ๑๕๐ เมตร ซึ่งใช้เป็นเส้นทางเดินเรือทางทะเลสำรองที่สำคัญ จากช่องแคบลอมบ็อคขึ้นไปทางเหนือผ่านช่องแคบมากัสซ่าร์ อยู่ระหว่างเกาะบอร์เนียว(ด้านตะวันตกของเส้นทางเดินเรือ)กับซาราวาสี(ด้านตะวันออกของเส้นทางเดินเรือ) ขึ้นไปทางเหนือออกได้ ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางทะเลตะวันออกของฝั่งประเทศบรูไนแล้วออกไปที่หมู่เกาะสแปรตลี อีกเส้นทางแยกออกไปทางใต้ของหมู่เกาะตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ออกทะเลฟิลิปปินส์

  • ปัญหาในทะเลจีนใต้ --------- ประกอบด้วย // 1)ความขัดแย้งจากการที่อาณาเขตทางทะเลของประเทศชายฝั่งเหลี่ยมทับกัน 2)ความขัดแย้งจากการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะหรือหมู่เกาะของรัฐชายฝั่ง --ก)ความขัดแย้งจากการที่อาณาเขตทางทะเลของประเทศชายฝั่งเหลี่ยมทับกัน (๑)บริเวณอ่าวตังเกี๋ย เป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับเวียดนาม มีสาเหตุ (๑/๑)การอ้างแนวเขตแดนทางทะเลของเวียดนามตามอนุสัญญาระหว่างจีนกับฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่กำหนดให้เส้นลองติจูด ๑๐๘ องศา ๓ ลิปดา ๑๓ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตแดน และเวียดนามอ้างว่าอ่าวตังเกี๋ยเป็นอ่าวประวัติศาสตร์ (๑/๒)จีนยืนยันว่าไม่เคยมีการแบ่งอ่าวตังเกี๋ยและเส้นเขตแดนที่เวียดนามอ้างนั้น และได้ล้ำเขตเข้าไปทางเกาะไหลหลำของจีน นอกจากนี้เขตไหล่ทวีปของเวียดนามยังยาวไปจรดทะเลอาณาเขตของจีนด้วย ทำให้เกิดพื้นที่ขัดแย้งประมาณ ๒๔๐๐๐ ตารางไมล์ (๑/๓) จีนและเวียดนามได้มีการเจรจากันถึง ๓ ครั้ง เมื่อ ๑๐ มิถุนายน และ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยทางจีนเสนอให้พื้นที่สี่เหลี่ยมตอนกลางอ่าวเป็นเขตปลอดการสำรวจจนกว่าจะมีการตกลงเกี่ยวกับเส้นเขตแดนทางทะเล (๑/๔) เมื่อ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ จีนมีข้อเสนอให้แบ่งพื้นที่อ่าวตังเกี๋ยออกเป็นสองส่วนในลักษณะครึ่งต่อครึ่ง แต่ผลการเจรจาไม่คืบหน้าเพราะเวียดนามยืนกรานตามอนุสัญญาเดิม ซึ่งเหตุก็คือเวียดนามได้ครอบครองพื้นที่เกือบ ๒ ใน ๓ ของอ่าวตังเกี๋ย (๑/๕) จีนได้แสดงท่าทีก้าวร้าวต่อปัญหาอ่าวตั๋งเกี๋ย และได้ดำเนินการสำรวจปิโตรเลียม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒—พ.ศ. ๒๕๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และ พ.ศ. ๒๕๓๕ --- พ.ศ.๒๕๓๖ (๑/๖) นอกจากนี้ จีนยังได้ออกกฎหมาย(น่าจะเป็นกฎหมายภายใน)รับรองการประกาศทะเลอาณาเขต เมื่อ ๒๕ กุมภาพันธุ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งได้ประกาศปิดกั้นการเดินเรือบริเวณที่จีนทำการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม /////////// ***(( หมายเหตุ ขยายความ เรื่องกฎหมายภายใน หลังจากที่ประเทศต่างๆได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ แล้วนั้น ประเทศเหล่านั้นจะต้องไปดำเนินการออกหรือตรากฎหมายภายในประเทศของตนรองรับการลงนามนั้น เพื่อให้มีผลบังคับการใช้กฎหมาย และจะมีผลไปถึงกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีที่เกิดอนุโญตุลาการ หรือมีการละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามทั้งกฎหมายภายในและสิ่งที่ได้ลงนามไปแล้ว ในทำนองเดียวกัน กับกรณีของประเทศไทยคือ หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามบทบัญญัติในข้อต่างๆที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ จักต้องไปดำเนินการออกกฎหมายต่างๆออกมารองรับหรือที่เราเรียกกันว่า กฎหมายลูก อย่าว่าแต่รัฐธรรมนูญปี ๕๐ เลยที่ไม่มีกฎหมายลูก แม้แต่ในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ก็ยังออกหรือตรายังไม่ครบเลย ดังนั้นจึงเกิดการตีความแบบไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ทำให้การวินิจฉัยกฎหมายไม่มีมาตรฐานพูดง่ายคือวินิจฉัยแบบมั่วๆ อย่างกรณีคดีคุณสมัคร และมักจะตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบเข้าข้างตัวเอง เห็นได้จากที่มีการวินิจฉัยตัดสินคดีความในหลายกรณีที่ไม่สามารถอ้างเหตุผลทางกฎหมายได้เลย ))***
  • (๒)บริเวณตอนเหนือของหมู่เกาะนาตูนา เป็นปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอาณาเขตไหล่ทวีป ระหว่างเวียดนามกับอินโดนิเซีย มีสาเหตุมาจากการกำหนดเส้นฐานของเวียดนามเหลี่ยมทับซ้อนกับแนวเขตแดนทางทะเลของอินโดนิเซีย ทำให้มีพื้นที่ที่เป็นปัญหาประมาณ ๑๑๗๓๗ ตารางไมล์ทะเล ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งน้ำมันขนาดใหญ่ ๒ แห่ง และอยู่ใกล้กับแหล่งก๊าซธรรมชาติใหญ่ของอินโดนิเซีย เวียดนามและอินโดนิเซียได้เคยเจรจากันเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ แต่ต้องชะงักไปเมื่อเวียดนามได้รวมประเทศใน ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ต่อมาภายหลังได้มีการปรับปรุงความสัมพันธ์ในขั้นปกติขึ้นมาใหม่ระหว่างเวียดนามกับอินโดนิเซีย และได้มีการเจรจากันอีกครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมา แต่ปัญหานี้ก็กลับมีท่าทีจะยุ่งยากขึ้นมาอีก เนื่องจากอาณาบริเวณพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนได้อ้างกรรมสิทธิ์ภายใต้เส้น U --- SHAPE LINE นั้น โดยจีนได้รวมส่วนหนึ่งของแหล่งก๊าซธรรมชาติของอินโดนิเซียที่บริเวณหมู่เกาะนาตูนาด้วย ----- (๓)บริเวณตะวันออกของอ่าวไทย เป็นปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย กับกัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งบริเวณตะวันออกของอ่าวไทยมีพื้นที่ขัดแย้งประมาณ ๒๔๒๒๑ ตารางไมล์ทะเล แยกเป็นพื้นที่เหลี่ยมทับซ้อนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามประมาณ ๑๔๕๘๐ ตารางไมล์ทะเล พื้นที่เหลี่ยมทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชาประมาณ ๕๗๙๘ ตารางไมล์ทะเล และพื้นที่เหลี่ยมทับซ้อนระหว่างไทยกับเวียดนามประมาณ ๑๗๗๑ ตารางไมล์ทะเล เหตุแห่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เนื่องมาจากคือไทย กัมพูชา และเวียดนาม ต่างฝ่ายต่างก็กำหนดอาณาเขตทางทะเลของตนเองโดยลำพัง ไม่ได้มีการเจรจากันมาก่อน ---- ไทยกับเวียดนามได้มีการเจรจากันอย่างเป็นทางการต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนามเห็นพ้องกันว่าควรจะเน้นการแบ่งเขตระหว่างกัน บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ(ว่าด้วยเรื่องทะเล) ก่อนที่จะมีการเจรจาเรื่องการพัฒนาร่วม --- ไทยกับกัมพูชาได้เริ่มมีการเจรจากันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งไม่มีความคืบหน้าใดๆ เพราะทางกัมพูชาต้องการจะจัดทำเป็นพื้นที่พํฒนาร่วมในเขตไหล่ทวีปที่อ้างการทับซ้อนกันโดยไม่ยอมปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้พิจารณาแบ่งเขตทางทะเลก่อน จึงทำให้การเจรจาไม่บรรลุผล ***((การเจรจาที่เป็นไปได้และมีแนวโน้มในผลสัมฤทธิ์คือ ในสมัยนายกฯทักษิณ ที่สามารถเจรจาและสามารถตกลงกันได้ในหลักการกันได้ แต่หลังรัฐประหารของสนธิบัง ก็กลับไปยังที่เดิม เรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าให้ฟังว่า เมื่อมีการนำปัญหานี้เข้าไปเสนอนายกฯทักษิณในตอนแรกๆนั้น นายกฯทักษิณไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรเพราะว่าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายทะเลมาก่อน แต่บังเอิญเป็นโชคของนายกทักษิณที่ช่วงนั้นมีผู้ที่จบด้านนี้มาโดยตรงและทำงานอยู่กับในทีมการเมืองของท่าน จึงได้ดำเนินการจัดทำเอกสารสรุปให้ท่านอ่านและก็บรรยายสรุปให้ท่านฟัง นายกฯทักษิณไปนั่งทำความเข้าใจด้วยอาการมึนนานอยู่หลายวัน จนถึงบางอ้อ เลยทำให้รู้ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน เหตุผลที่ดำเนินการเจรจาแล้วสำเร็จ เพราะ หนึ่ง ท่านศึกษาจนรู้ว่าปัญหามันคืออะไร และอยู่ตรงไหน สอง ท่านไม่มีความรู้เรื่องดังกล่าวนี้ซึ่งท่านก็ยอมรับ แต่ท่านว่างเมื่อไหร่ท่านก็มานั่งทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ สาม ท่านรู้จักหาและใช้คนที่มีความรู้ในด้านนั้นๆ ไม่อวดตัวว่ารู้ เพราะท่านเคยกล่าวเสมอว่ามันเป็นเรื่องอันตรายในการแก้ปัญหาหากเราไม่รู้จริง ))***

  • No comments:

    Post a Comment